สาระน่ารู้กราฟฟิค

Resolution ของภาพที่เหมาะสมกับสิ่งพิมพ์แต่ละประเภท

          

 

การเตรียมไฟล์งานเพื่อส่งพิมพ์ ควรตรวจสอบรายละเอียดของงานให้ครบถ้วนก่อนเพื่อความเรียบร้อยและรวดเร็ว

สามารถพิมพ์งานออกมาสวยงาม คมชัด และได้สเปกตามต้องการ ความละเอียดของภาพกราฟิกหรือ Resolution

ในงานสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย ซึ่งต้องใช้ไฟล์ที่มีความละเอียดสูงทำให้ภาพไม่แตก ออกมาคมชัด

ความละเอียดของไฟล์ภาพมีหน่วยวัดเป็น dots per inch (DPI) หรือ pixels per inch (PPI) หากตัวเลขความละเอียดมาก

ภาพจะมีความคมชัดมากขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกล้องที่ใช้ด้วย

บทความ bookandbox

สิ่งพิมพ์แต่ละชนิดใช้ความละเอียดไม่เท่ากัน มีคำแนะนำดังต่อไปนี้

- ความละเอียด 150 dpi หมายถึง มีจำนวนจุดในการพิมพ์ 150 จุดต่อตารางนิ้ว

เหมาะกับงานพิมพ์เน้นตัวหนังสือมาก รูปภาพน้อย ตัวหนังสือใหญ่และเด่นชัด เหมาะกับงานใบปลิวหรือแผ่นพับ

- ความละเอียด 300 dpi หมายถึง มีจำนวนจุดในการพิมพ์ 300 จุดต่อตารางนิ้ว

เหมาะกับงานพิมพ์รูปภาพจำนวนมาก ภาพพิมพ์ที่ได้มีความคมชัด สีสวยและให้รายละเอียดมากยิ่งขึ้น

ทำให้ภาพที่พิมพ์ออกมามีคุณภาพดีขึ้น เช่น โบรชัวร์สินค้า แค็ตตาล็อก โปสเตอร์ นิตยสาร

แผ่นพับรายการอาหารหรือสินค้าอื่น ๆ ที่เน้นรูปภาพสวยงามและงานสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

- ความละเอียด 350 dpi ขึ้นไป หมายถึง มีจำนวนจุดในการพิมพ์ 350 จุดต่อตารางนิ้ว

เหมาะสำหรับการออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความคมชัดในการแสดงผลสูง

เช่น งานนิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ สมุดภาพ และสิ่งพิมพ์ที่มีความคมชัดสูง

บทความ bookandbox การจัดเตรียมไฟล์งานที่มีจำนวนจุดในการพิมพ์ 300 จุดต่อตารางนิ้ว ได้รูปภาพที่สวยมีรายละเอียดดี

เมื่อต้องการใช้งานในการพิมพ์ที่ขนาดต่างกัน สามารถเปลี่ยนค่า dpiระดับที่เหมาะสมได้

เกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการพิมพ์ชิ้นงานขนาดใหญ่ มีดังนี้

ความละเอียด 70 dpi หรือน้อยกว่า เหมาะกับชิ้นงานขนาดใหญ่กว่า 300×500 เซนติเมตร

ความละเอียด 100 dpi เหมาะกับชิ้นงานขนาด 200×300 เซนติเมตร ไม่เกิน 300×500เซนติเมตร

ความละเอียด 150 dpi เหมาะกับชิ้นงานขนาด 100×100 เซนติเมตร ไม่เกิน 200×300เซนติเมตร

ความละเอียด 300 dpi เหมาะกับชิ้นงานขนาดต่ำกว่า 100×100 เซนติเมตร

 


10 ปัญหาของไฟล์ต้นฉบับ PDF ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในงานพิมพ์

           บทความ bookandbox

 
การเตรียมไฟล์งานพิมพ์เพื่อให้ได้ชิ้นงานสวยตรงตามความต้องการ

ไม่ว่าทางโรงพิมพ์ออกแบบให้ หรือลูกค้าออกแบบมาเอง

ก่อนอื่นต้องตรวจสอบไฟล์ต้นฉบับ PDF ให้มีคุณภาพความละเอียดเหมาะสม

สีไม่ผิดเพี้ยนเพื่อลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นหลังส่งไฟล์งานให้โรงพิมพ์ ปัญหาของไฟล์ PDF ที่พบบ่อยมีดังนี้

          บทความ bookandbox

     1.ปัญหาภาพความละเอียดต่ำ ต้องพิจารณาจากสาเหตุว่าเกิดจากภาพที่ใช้มีความละเอียดต่ำอยู่แล้ว

ปรับแก้ไม่ได้ ควรเปลี่ยนภาพใหม่หรือส่งให้ผู้ออกแบบแก้ไขไฟล์งาน

หากปัญหาเกิดจากการแปลงไฟล์ที่ใช้เครื่องมือไม่ถูกต้อง

หรือกำหนดค่าไม่ถูกต้องทำให้ภาพความละเอียดสูงดั้งเดิมสูญเสียคุณภาพ ไม่คมชัดเหมือนต้นฉบับ

       2.ปัญหาบีบอัดมากเกินไป ความละเอียดของภาพลดลง การบีบอัดภาพมีหลายวิธี

ถ้าเลือกไม่ถูกต้องหรือบีบอัดมาก มีขนาดเล็กลงและรายละเอียดของรูปภาพจะถูกลดลงไปด้วย

ตัดทอนคุณภาพไฟล์และสูญเสียความคมชัดไป

       3.ปัญหาฟ้อนต์ไม่ฝังในไฟล์ PDF งานออกแบบที่ใช้ฟ้อนต์ลักษณะพิเศษ

ซึ่งต้องติดตั้งเพิ่มจากค่าปกติ ควรฝังฟ้อนต์ไปกับเอกสารหรืองานอาร์ตเวิร์กเพื่อให้โรงพิมพ์เปิดเอกสารนั้นได้

ถ้าไม่แก้ไขให้เรียบร้อย ส่งโรงพิมพ์แล้วจะมีปัญหาเรื่องเครื่องไม่รองรับฟ้อนต์

ไม่สามารถเห็นไฟล์ภาพ หรือฟ้อนต์กลายเป็นภาษาต่างดาว

            บทความ bookandbox

       4.ขนาดของหน้าไม่ถูกต้อง ต้องตั้งค่าขนาดของหน้างานที่ต้องพิมพ์ให้เหมาะสม

คำนวณขนาดหลังการพับและเจียนขอบ โดยคำนวณจากขนาดกระดาษเป็นหลัก

       5.Color Space ผิดพลาด อาจทำให้สีเพี้ยนไปไม่เหมือนหน้าจอ ภาพดูมืดหรือสว่างเกินไป

สาเหตุเกิดจากไฟล์งานเป็น RGB และการแปลงค่าสี RGB ไปเป็น CMYK ไม่ถูกต้อง

หรือสีบางเฉดแปลงค่ามาอยู่ในระบบแม่สีแบบ CMYK ไม่ได้ ส่งผลให้สีของภาพผิดเพี้ยนไป

ควรกด “Ctrl” กับ “Y” เพื่อทดสอบสีก่อนส่งไฟล์งานให้ทางโรงพิมพ์

       6.สีดำในงานพิมพ์ไม่เรียบ จะเห็นเป็นคลื่นหรือมีรอยด่าง ควรตรวจสอบค่าสี CMYK ของงานออกแบบ

ถ้าค่าสีดำไม่เป็น 100% แสดงว่ามีสีอื่นเจือปนทำให้งานพิมพ์สีดำไม่สม่ำเสมอ

แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการใช้สีพื้นในการออกแบบงานพิมพ์ ยิ่งถ้าเป็นแผ่นพับ

สีพื้นตรงขอบงานมักจะแตกเป็นเนื้อกระดาษสีขาว

       7. ข้อมูล Trim หรือ Bleed ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นงานพิมพ์แบบใด

จะต้องแม่นยำในเรื่องการเผื่อระยะห่างของเส้นเจียน (Trim)

และเส้นเผื่อเจียน (Bleed) เรียกว่าเพิ่มระยะตัดตกใช้ในการเจียน

ป้องกันความคลาดเคลื่อนช่วงตัดเจียนขอบชิ้นงานพิมพ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

ป้องกันข้อความต่าง ๆ ถูกตัดขาดหายไป

       8.ปัญหาลายเส้นไม่ขึ้น งานอาร์ตเวิร์กที่ลูกค้าออกแบบมาเองอาจใช้ลายเส้นขนาดเล็กหรือบางเกินไป

จนทำให้สายเส้นที่ปรากฏบนหน้าจอนั้นและไม่ปรากฏบนงานพิมพ์

แนะนำให้ปรับลายเส้นมีขนาดใหญ่ขึ้น ลองทดสอบกับพริ้นเตอร์ดูก่อนว่าไม่มีปัญหา

       9.ปัญหาโอเวอร์ปริ้นต์ หมายถึง การวางสีทับบนเลเยอร์สีอื่น

โดยเฉพาะการวางเลเยอร์สีดำทับบนสีอื่น เวลาพิมพ์ออกมาแล้ว

สีจากด้านล่างอาจทะลุขึ้นมาด้านบน ทำให้งานพิมพ์ไม่เรียบร้อย

วิธีแก้ไขคือปิดฟังก์ชั่นโอเวอร์ปริ้นต์ในไฟล์งานที่ออกแบบ

       10. งานพิมพ์คนละครั้งสีต่างกัน สาเหตุเกิดจากลูกค้าส่งไฟล์งานใหม่

ไม่ใช่ไฟล์เดิม หรือเซฟใหม่เป็นนามสกุลอื่น

ส่งผลให้ความละเอียดและคุณภาพของงานอาร์ตเวิร์กเปลี่ยนไป

เทียบสีแล้วเห็นว่างานที่พิมพ์แต่ละครั้งสีเพี้ยนไปจากเดิม

ควรใช้ไฟล์เดิมที่ส่งให้โรงพิมพ์ครั้งแรก งานพิมพ์มีรายละเอียดมาก

หากตรวจสอบรายละเอียดอย่างรอบคอบก่อน งานพิมพ์ออกมาสวยงาม

มีคุณภาพ ไม่ต้องแก้ไขปัญหาให้ยุ่งยากในภายหลัง